โพลียูเรีย คือสารเคลือบผิวใช้ในการเคลือบพื้นหรือสิ่งต่างๆ ซึ่งก่อนที่จะเป็นสารเคลือบได้นั้น ต้องใช้ปฏิกิริยาระหว่างไอโอไซยาเนตและเรซิน Polyurea เป็นสารเคลือบผิวที่นิยมใช้ในแวดวงอุตสาหกรรม ใช้เคลือบเพื่อป้องกันการกัดกร่อน รวมถึงสารเคมีที่เป็นอันตราย ทั้งยังช่วยเรื่องการทนความร้อน นิยมใช้เนื่องจากแห้งตัวเร็ว มีความยืดหยุ่นสูงพอสมควร ซึ่งจริงๆแล้ว โพลียูเรีย สามารถใช้ได้กับทุกสภาพแวดล้อมเลยก็ว่าได้
ปัจจุบันโพลียูเรีย มีความสำคัญอย่างมาก เป็นสารเคลือบผิวทางเลือก ที่บริษัทผู้คนต่างเลือกใช้ เนื่องจากเป็นสารเคลือบที่มีข้อจำกัดค่อนข้างน้อย สามารถใช้ได้กับทุกพื้นที่ ทุกธุรกิจ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร การเคลือบป้องกันโครงสร้าง รวมไปถึง สะพาน และ อ่างเก็บน้ำ ปกติแล้ว โพลียูเรีย ใช้ในการเคลือบพื้นผิว เพื่อกันซึม หรือ ป้องกันการกัดกร่อน ที่อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่พิเศษ รวมถึงใช้เคลือบเพื่อความสะอาด เช่นอุตสาหกรรมยา ที่ต้องการความปลอดภัยสูงพอสมควร
จุดเด่นของโพลียูเรีย มีความยืดหยุ่นสูง สามารถทนได้ทุกสภาพอากาศ ป้องกันน้ำได้ดี ช่วยเรื่องการกัดกร่อนจากของเหลวที่เป็นน้ำ รวมถึงสารเคมีในแต่ละวัน ทั้งยังทนต่อรอยขีดข่วน ทำให้พื้นผิวที่ถูกเคลือบ มีสภาพที่ใหม่เสมอ แถมยังทำความสะอาดง่าย ดูแลไม่ยุ่งยาก สิ่งที่พิเศษกว่านั้น โพลียูเรียยังสามารถพ่นเคลือบได้กับ โลหะ คอนกรีต พลาสติก และ ไม้ แถมยังไม่ทำให้เกิดเป็นพิษ หากใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และ ยา
การใช้งานโพลียูเรีย มีขั้นตอนการใช้งานดังนี้
- เตรียมพื้นผิวที่จะใช้ในการพ่นเคลือบ ให้ปราศจากฝุ่น หรือสิ่งรบกวน
- ต้องตรวจสอบความชื้น ให้แน่ใจว่าแห้งสนิท เพื่อป้องกันปัญหาจากความชื้นภายหลัง
- ผสมส่วนประกอบทั้งหมดเข้าด้วยกัน ผสมโพลียูเรีย รวมทั้งไอโซไซยาเนตและเรซินตามที่กำหนด
- ทำการเคลือบโดย ทา/พ่น เลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับพื้นที่ รวมถึงควรจะอยู่ในสภาพอากาศที่มีการถ่ายเท
- จากนั้นรอจนแห้ง เกิดการเซ็ตตัว โดยปกติแล้วใช้ระยะเวลาไม่นาน
- ตรวจสอบด้วยตัวเองโดยง่าย เพียงเช็คความเรียบเนียน รวมถึงฟองอากาศ หลังจากเคลือบเสร็จสิ้น
- หากเคลือบในพื้นที่ ที่มีการใช้งานอย่างรุนแรง ควรทำการบำรุงรักษา อย่างเป็นประจำ เพื่อประสิทธิภาพของชิ้นงาน
แม้จะมีข้อดีอย่างมากมาย ก็ต้องมีข้อเสียด้วยเช่นกัน
- มีต้นทุนที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุเคลือบประเภทอื่นๆ แต่ก็ด้วยคุณภาพที่ได้รับอีกเช่นกัน
- การเคลือบด้วยสาร โพลียูเรีย อาจต้องใช้ความสามารถ หรือ ทักษะพอสมควร เพราะมีส่วนในขั้นตอนการผสม
- ไวต่อความชื้น หากพื้นผิวมีความชื้นก่อนทำการเคลือบ อาจะทำให้ชิ้นงานที่เคลือบเกิดความเสียหาย หรือ ไม่สมบูรณ์แบบตามที่ต้องการ
- แม้จะไม่เป็นอันตราย แต่ในขั้นตอนเคลือบ บางครั้งโพลียูเรียอาจปล่อยสารบางอย่างที่เป็นพิษออกมาได้ จึงควรทำในพื้นที่ ที่มีอากาศถ่ายเท