POLYUREA | for Permanent Waterproof Solution
Pure Polyurea เป็นสารเคลือบผิวเพียงประเภทเดียวในปัจจุบัน ที่สามารถทนต่อการจุ่มแชาสัมผัสน้ำได้อย่างต่อเนื่อง และมีความยืดหยุ่นสูง ไร้รอยต่อ ทนแสง UV ได้อย่างต่อเนื่อง
ความหนาสารเคลือบทำได้สม่ำเสมอและสามารถลบความขรุขระของผิวคอนกรีต (หนา 1.5 – 2.0 mm.)
ผิวสัมผัสเหนียวแน่น ทนแรงขีดข่วน คนเดิน และแรงกระแทกต่างๆ ได้ดี
เมื่อคอนกรีตมีการแตกร้าว หรือ ตามขอบมุม Polyurea จะสามารถยืด-ขยายตัวได้ดีไม่ฉีกขาด เนื่องจากมีทั้ว Tensile Strength และ Elongation สูง
การดูดซึมน้ำต่ำมาก
ทนทานต่อแสง UV และความร้อนสูง
สามารถใช้งานที่จุ่มแช่น้ำตลอดเวลาได้ดี เช่น ภายในบ่อ หรือ ถัง
มีอายุงานยาวนานมาก เกิน 20 ปี ขึ้นไป
การทดสอบ Impact Test และ Bending Test Polyurea ไม่เกิดความเสียหาย
การทดสอบ Crack Bridging Test พบว่า Polyurea สามารถต้านทานการฉีกขาดสำหรับรอบร้าวได้ถึง 3 mm.
การทดสอบ Pull Off Adhesion Test พบว่าแรงยึดเกาะระหว่าง Polyurea และคอนกรีตสูงมากกว่าแรง Tensile strength ในเนื้อคอนกรีตเอง
เครื่องพ่น Polyurea แบบ Heated Plural Airless Spray Pump พร้อมถังที่ติดตั้ง Mixer และเครื่องดักความชื้อ
ปัญหาสารกันซึมเดิมไม่ทนทาน สามารถพบได้ในงานกันซึมเกือบทุกงาน ซึ่งไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดปัญหารั่วซึม แต่ยังก่อให้เกิดความเสียหายของโครงสร้างหลังคาคอนกรีตอย่างรุนแรง อันเนื่องจากเหล็กเสริมแรงเป็นสนิมและผุกร่อนจากน้ำและความชื้น หากไม่แก้ปัญหาอย่างถาวร จะทำให้โครงสร้างคอนกรีตเสื่อมสภาพ และต้องทำการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายสูงและเสียเวลามาก
ปัญหารั่วซึม สามารถเกิดขึ้นได้เสมอกับหลังคาอาคาร ถัง และบ่อ โดยที่ผ่านมามีการใช้งานวัสดุหลายประเภทในการป้องกันการรั่วซึมเช่น Acrylic Coating, Polyurethane Coating (PU), Sheet Membrane ประเภทต่างๆ แต่ไม่มีวัสดุใดเลยที่สามารถป้องกันการรั่วซึมได้ในระยะยาว โดยปัญหาที่พบได้ทั่วไป ดังนี้
ประเภทของวัสดุกันซึม | จุดเด่น |
Acrylic Coating | • ความหนาสารเคลือบทำได้บาง (0.5 – 0.5 mm.) • การดูดซึมน้ำสูง เสื่อมสภาพง่ายมาก เมื่อสมัผัสน้ำขังเป็นแอ่ง หรือ ในรางระบาย • ไม่สามารถใช้งานที่จุ่มแช่น้ำตลอดเวลาได้ เช่น ภายในบ่อ หรือ ถัง • ฉีกขาดง่ายมาก เมื่อคอนกรีตมีการแตกร้าว หรือ ตามขอบมุม เนื่องจาก Tensile Strength ต่ำมาก • สารเคลือบจะเสื่อมสภาพจากความร้อนและแสงแดด (Heat Aging) • จะเริ่มเสื่อมสภาพและเสียความยืดหยุ่น เมื่อผ่านไปประมาณ 2 – 3 ปี |
Polyurethane Coating (PU) | • ความหนาสารเคลือบทำได้บาง (0.3 – 1 mm.) • การดูดซึมน้ำปลานกลาง เสื่อมสภาพง่าย เมื่อสัมผัสน้ำขังเป็นแอ่ง หรือ ในรางระบาย • ไม่สามารถใช้งานที่จุ่มแช่น้ำตลอดเวลาได้ เช่น ภายในบ่อ หรือ ถัง • ฉีกขาดง่าย เมื่อคอนกรีตมีการแตกร้าว หรือ ตามขอบมุม เนื่องจาก Tensile Strength ต่ำ • สารเคลือบจะเสื่อมสภาพจากความร้อนและแสงแดด (Heat Aging) • จะเริ่มเสื่อมสภาพและเสียความยืดหยุ่น เมื่อผ่านไปประมาณ 3 – 5 ปี |
Cement Base Coating | • มีความยืดหยุ่นต่ำ แตกร้าวง่าย • มีรูพรุ่นสูง หากผสมและฉาบไม่ได้คุณภาพ • ไม่ทนต่อแสง UV เมื่อสัมผัสแสงแดดจะเสื่อมสภาพเร็ว • จะเริ่มเสื่อมสภาพและเสียความยืดหยุ่น เมื่อผ่านไปประมาณ 3 – 5 ปี |
Sheet Membrane | • มีรอยต่อมาก การเชื่อมรอยต่อไม่สามารถทำได้คุณภาพที่สม่ำเสมอโดยเฉพาะบริเวณที่เป็นฐานเสา ฐานอุปกรณ์ต่างๆที่มีรูปร่างซับซ้อน • รอยรั่วทั้งหมดจะเกิดขึ้นตามแนวนอยต่อและไหลซึมเข้าไปใต้แผ่น ไม่สามารถตรวจหารอยรั่วได้โดยง่าย • จะเริ่มเสื่อมสภาพและเสียความยืดหยุ่น เมื่อผ่านไปประมาณ 5 ปี ขึ้นไป |
Pure Polyurea สำหรับงานเคลือบผิว กันซึมบนดาดฟ้า หลังคา สวนลอยฟ้า รางระบายน้ำ บ่อ / ถังบนอาคาร
• อายุการใช้งาน 20 ปี ขึ้นไป
• มีความยืดหยุ่นสูง (300 – 700%)
• ต้านทานการฉีกขาดจากรอย Crack
• ทนการแช่ขังน้ำได้ 100%
• ไร้รอยต่อสารเคลือบ
เนื่องจาก Pure Polyurea ติดตั้งด้วยระบบ Hot Spray โดยไม่มีรอยต่อและแข็งตัวภายในเวลา 10 วินาที จึงทำให้เหมาะกับงานกันซึมได้ทั้งพื้นเรียบ และ บริเวณซับซ้อน / ซอกมุมต่างๆ เช่น ฐานเสา รางระบายน้ำ ท่อน้ำ ท่อแอร์ ท่อระบายต่างๆ
Pure Polyurea สำหรับงานเคลือบผิวหลังคา Metal Sheet, Iso-wall และหลังคาที่มีรอยต่อจำนวนมาก หลังคาลักษณะนี้มักจะมีปัญหาบริเวณรอยต่อของแผ่นหลังคาที่ถูกซีลป้องกันการรั่วซึมด้วย Sealant ซึ่งจะเสื่อมไปตามระยะเวลาและจากการติดตั้งที่ไม่สมบูรณ์ รอยต่อหลังคาเหล่านี้จำเป็นต้องใช้สารเคลือบ Pure Polyurea มีความต้านทานการฉีกขาดสูงมาก (Tensile Strength ตั้งแต่ 2,000 – 4,500 psi แล้วแต่เกรด) และมีความยืดหยุ่นสูงมาก (Elongation ตั้งแต่ 300% – 700% แล้วแต่เกรด)